โลโก้เว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมสมรรถนะการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Data Analyst) ระดับ 3 พื้นฐานสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมสมรรถนะการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Data Analyst) ระดับ 3 พื้นฐานสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 20 มิถุนายน 2565 โดย ออมทรัพย์ อินกองงาม จำนวนผู้เข้าชม 1747 คน

(5) ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ตามที่สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดจัดโครงการส่งเสริมสมรรถนะการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Data Analyst) ระดับ 3 พื้นฐานสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและการดึงประโยชน์จากการใช้งานข้อมูลสารสนเทศอย่างเหมาะสม โดยโครงการดังกล่าวมีกำหนดการฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์ในวันที่ 25 มิถุนายน 2565 และการทดสอบเพื่อรับรองสมรรถนะโดยเครื่องมือออนไลน์วันที่ 26 มิถุนายน 2565 ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องเข้ารับการอบรมและเข้ารับการทดสอบครบตามชั่วโมงกำหนด ตามกำหนดการดังแนบมาพร้อมนี้

ในการนี้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงขอประชาสัมพันธ์กำหนดการ รับสมัคร และรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://regis.rmutl.ac.th/student หัวข้อ S15 สอบมาตรฐาน ระบบเปิดให้ลงทะเบียนพร้อมกันทุกเขตพื้นที่  วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 น. ป็นต้นไป

กำหนดการฝึกอบรม 
ระยะเวลาการฝึกอบรม
        1 วัน (จำนวน 6 ชั่วโมง) 
วันและเวลาการฝึกอบรม      วันที่ 25 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น.
โปรแกรมประชุมแบบออนไลน์     ZOOM Cloud Meetings
วิธีการเข้าอบรม

  1. เข้าลิงค์การอบรม ตามที่แจ้งไว้ใน E-mail ที่ลงทะเบียน
  2. ตั้งชื่อในห้องอบรมออนไลน์ ด้วยชื่อ นามสกุลเป็นภาษาไทย เพื่อให้เจ้าหน้าที่เชคชื่อเข้าอบรม
  3. ผู้เข้าอบรมเปิดกล้องตลอดเวลาการฝึกอบรม

รูปแบบการสอบ  การสอบทฤษฏี

  1. ข้อสอบข้อเขียน (10-50 นาที) เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ปฏิบัติบน Website
  2. ข้อสอบแบบปฏิบัติ ( 3-4 ชั่วโมง) ให้ปฏิบัติงานจริงกับโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่โจทย์ระบุ

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทดสอบภาคปฏิบัติ

  • Microsoft Office (Word, Excel, PowerPoint)
  • Power BI/ Tableau
  • Google Data Studio
  • Weka 3.8.3 
  • RapidMiner 
  • R CRAN Package ‘epiDisplay’
  • ภาษา Python

**มีการอบรมให้ก่อน ผู้เข้าสอบ สามารถเลือกใช้โปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งตามความถนัดในการสอบภาคปฏิบัติ **

ตรวจสอบข้อมูลนักศึกษาที่ลงทะเบียนผ่านระบบ TPQI สำเร็จ >> คลิ๊กที่นี่