โลโก้เว็บไซต์ วิทยบริการฯ จัดโครงการ “RMUTL Digital Startup 2017” ตามนโยบาย มหาวิทยาลัยฯ...ตอบโจทย์ นโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิทยบริการฯ จัดโครงการ “RMUTL Digital Startup 2017” ตามนโยบาย มหาวิทยาลัยฯ...ตอบโจทย์ นโยบายรัฐบาล Thailand 4.0

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 31 สิงหาคม 2560 โดย ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด จำนวนผู้เข้าชม 521 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.) ได้รับมอบหมายจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ให้ดำเนินการจัด “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Digital Startup” ณ อัลไพน์ กอล์ฟ รีสอร์ท เชียงใหม่ ตามนโยบายด้านการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน ผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานให้มีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมตามนโยบายของรัฐบาล ดั่งยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจ ภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy) ตามนโยบาลของรัฐบาล Thailand 4.0

การนี้ รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี และ ผศ.อุดม สุธาคำ รองอธิการบดี ด้านยุทธศาสตร์และแผนพัฒนา มทร.ล้านนา มอบหมายให้ อาจารย์อนันท์ ทับเกิด ผู้อำนวยการ สวส.มทร.ล้านนา เป็นประธานเปิดโครงการฯ โดย อาจารย์ณรงค์ เมตไตรพันธ์ ประธานกรรมการประสานงานกลางและที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงาน มีตัวแทนอาจารย์ จาก มทร.ล้านนา ทั้ง ๖ เขตพื้นที่ กว่า ๘๐ คน ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ เป้าประสงค์การจัดโครงการฯ เพื่อบูรณาการองค์ความรู้เชิงวิชาการ โดยบูรณาการการเรียนการสอนและการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งกิจกรรมของโครงการฯ มี ๓ วัน คือ
 

วันแรก (วันจันทร์)  ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น. โดย คุณรัชวุฒิ พิชยาพันธ์ จาก CEO Fixzy Co,Ltd วิทยากรบรรยายให้ความรู้ เรื่อง Why Digital Startup? ,What we have and what we need? ,Innovation and Startup รูปแบบ Startup ที่รัฐบาลไทยสนับสนุนและมุ่งส่งเสริม (e-commerce, FinTech, Agritech, EdTech, e-service, IoT) รวมถึงแหล่งเงินทุนที่ให้การสนับสนุน Startup (Crowdfunding, Sharing Economy, Venture Capital)

เวลา ๑๓.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น. โดย คุณณครินทร์ เลิศนามวงศ์ และคุณแพรวโพยม ง้าวสุวรรณ วิทยากรบรรยายให้ความรู้ เรื่อง Business Model Canvas , การ Work shop

วันที่สอง (วันอังคาร) ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

เวลา ๑๘.๓๐ น. – ๑๒.๐๐ น. โดย คุณพงษ์ศักดิ์ อริยจิตไพศาล ผู้จัดการ DEPA สาขาเชียงใหม่ วิทยากรบรรยายให้ความรู้ เรื่อง อะไรคือแบรนด์ สำคัญอย่างไร? ,แนวคิดเรื่องการสร้างแบรนด์ และสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งในยุค IoT? ,ทำไมต้องมีแผนการตลาด?แนวคิดในการกำหนดแผนการตลาดต่อผลิตภัณฑ์ ,ทำความรู้จักกับ “คนพันธุ์มิลเลนเนียล” ,เทคนิคการทำการตลาดแนวใหม่อย่างไร? ให้โดนใจกลุ่มคน “ยุคมิลเลนเนียล”

เวลา ๑๓.๐๐ น. – ๒๐.๐๐ น. แบ่งกลุ่มอบรมเชิงปฏิบัติการเขียนแบบเสนอโครงการ Digital startup
กลุ่ม ๑ ผู้ดูแลกลุ่ม คุณพงษ์ศักดิ์  อริยจิตไพศาล  ผู้จัดการ DEPA สาขาเชียงใหม่
กลุ่ม ๒ ผู้ดูแลกลุ่ม ผศ.ดร.วิฑูรย์ พรมมี จาก FreshBuy ,ประสบการณ์ในการร่วมแข่งขัน Tech Startup 2016 ,

วันที่สาม (วันพุธ) ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น. แบ่งกลุ่มอบรมเชิงปฏิบัติการเขียนแบบเสนอโครงการ Digital startup และการนำเสนอความของแต่ละกลุ่ม

โครงการฯนี้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทางผู้จัดฯ ต้องขอขอบคุณ อาจารย์ผู้มีประสบการณ์ มากความสามารถทางด้าน Tech Startup 2016 จาก มทร.ล้านนา เชียงราย ประกอบด้วย อาจารย์ณรงค์ เมตไตรพันธ์ ประธานกรรมการประสานงานกลางและที่ปรึกษาโครงการฯ ,อาจารย์หิรัญกฤษฎิ์ โลตุรัตน์ และอาจารย์นุรักษ์ ไชยศรี คณะกรรมการประสานงานกลางและคณะกรรมการดำเนินงาน ที่คอยให้คำปรึกษา คำแนะนำในการขับเคลื่อนโครงการฯ และขอขอบคุณคณะกรรมการดำเนินงาน ทุกกลุ่มงานของ สวส.มทร.ล้านนา เป็นอย่างยิ่ง

ภาพ/ข่าว : กลุ่มงานบริการสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ สวส.มทร.ล้านนา