เผยแพร่เมื่อ : พุธ 27 ตุลาคม 2564 โดย ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด จำนวนผู้เข้าชม 867 คน
เมื่อวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2564 (ที่ผ่านมา) บุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ร่วมดำเนินโครงการพัฒนา นวัตกร วิศวกร นักวิจัย วิสาหกิจเริ่มต้น ด้านปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer Season 2) ผ่านระบบประชุมออนไลน์ (Zoom Meeting) โดยมีบุคลากรที่เข้าร่วมฯและรายละเอียดการดำเนินโครงการฯ ดังนี้ 1.ด้านการจัดทำระบบสอบวัดความรู้ออนไลน์ ประกอบด้วย ดร.ประเสริฐ ลือโขง ผู้อำนวยการสวส.มทร.ล้านนา (กรรมการ) ดร.ปวียา รักนิ่ม รองผู้อำนวยการ สวส.มทร.ล้านนา (กรรมการ) และบุคลากรกลุ่มงานบริการการศึกษา คือ นายออมทรัพย์ อินกองงาม (นักวิชาการคอมพิวเตอร์) นายภรัญยู ใจบำรุง (นักวิชาการคอมพิวเตอร์) และนางสาวภัทรมน ลิ้มเลิศเจริญวนิช (นักวิชาการคอมพิวเตอร์) 2.ด้านการผลิตสื่อวีดิทัศน์แนะนำขั้นตอนการเตรียมตัวในการสอบ ประกอบด้วย บุคลากรกลุ่มงานบริการการศึกษา คือ นายณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด (นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ชำนาญการ) นายเวธน์วิวัฒน์ เชื้อไทย (นักวิชาการโสตทัศนศึกษา) และนายชัชวาลย์ ศะศิวนิชย์ (นักวิชาการโสตทัศนศึกษา) 3.ด้านการจัดสอบผ่านระบบประชุมออนไลน์ (Zoom Meeting) ประกอบด้วย ผศ.ดร.นงนุช เกตุ้ย รองหัวหน้าศูนย์ประสานงาน (จาก มทร.ล้านนา น่าน) ดร.ปวียา รักนิ่ม รองผู้อำนวยการสวส.มทร.ล้านนา (กรรมการ) นายออมทรัพย์ อินกองงาม (นักวิชาการคอมพิวเตอร์) นายภรัญยู ใจบำรุง (นักวิชาการคอมพิวเตอร์) นางสาวภัทรมน ลิ้มเลิศเจริญวนิช (นักวิชาการคอมพิวเตอร์) นายเฉลิมฤทธิ์ เครืออินทร์ (นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ชำนาญการ) งานเครือข่าย และ นางสาวปาริชาติ สมแก้ว (บรรณารักษ์) งานหอสมุด
โดยกิจกรรมของโครงการฯ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 (Level 1) เป็นการรับสมัครเข้าโครงการ และอบรมออนไลน์ระดับพื้นฐาน ช่วงที่ 2 (Level 2) เป็นการคัดเลือกผู้ที่เข้าค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการและอบรมหลักสูตรเอไอขั้นสูง ช่วงที่ 3 (Level 3) ทำงานสาขาเอไอกับสถานประกอบการ สำหรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกจะมีทุกช่วงของกิจกรรม อาทิ ช่วงที่ 1 (Level 1) จะมีการทดสอบความรู้ ความสามารถด้านเอไอผ่านระบบสอบออนไลน์. ช่วงที่ 2 (Level 2) การคัดเลือกเข้าค่ายอบรมจะพิจารณาจากความสามารถเชิงประจักษ์ ประวัติส่วนตัวและประวัติการศึกษา ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านเอไอผ่านคลิปวิดีโอ ทัศนคติ และแรงบันดาลใจ เป็นต้น ส่วนช่วงที่ 3 (Level 3) ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากสถานประกอบการ
ซึ่งการเข้าร่วมดำเนินการโครงการฯ ดังกล่าว สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และทางสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Association of Thailand AIAT) ได้มีความร่วมมือด้านวิชาการ (MOU) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ซึ่งรายละเอียดของบันทึกข้อตกลงฯ ครอบคลุมในด้านการสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมเชิงวิทยาการ สร้างความรู้และสร้างเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ ศาสตร์อันนำไปสู่การสร้างและขยายโอกาสการเรียนรู้ด้านนี้กับ นักศึกษา อาจารย์ ของ มทร.ล้านนา อันจะเป็นแนวทางในการ่วมกันในการทำกิจกรรมโครงงานวิจัยและพัฒนา ที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ดังนี้ (โดยบันทึกข้อตกลงมีระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ 12 ธันวาคม 2562 – 11 ธันวาคม 2565)
1.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการและกิจกรรมทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ระหว่างสมาคมและมหาวิทยาลัย
2.เพื่อสร้างและขยายโอกาสการเรียนรู้ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องให้กับนักศึกษา อาจารย์และบุคคลทั่วไป ซึ่งจะก่อให้แนวทางในการร่วมกันในการทำกิจกรรมโครงงาน งานวิจัยและพัฒนา
นอกจากนี้ด้วยทางสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Association of Thailand AIAT) และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับอนุมัติทุนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ Al for All ในชื่อโครงการย่อย "โครงการพัฒนานวัตกร/วิศวกร/นักวิจัย/วิสาหกิจเริ่มต้น ด้านปัญญาประดิษฐ์" มี ศ.ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง เป็นหัวหน้าโครงการฯ โดยในส่วนของศูนย์ประสานงานและเครือข่ายภาคเหนือ มี ผศ.ดร. พิมผกา ธานินพงศ์ (หัวหน้าศูนย์ประสานงาน) ผศ.ดร.นงนุช เกตุ้ย รองหัวหน้าศูนย์ประสานงาน (จาก มทร.ล้านนา น่าน) ดร.ประเสริฐ ลือโขง (ผู้อำนวยการ สวส.มทร.ล้านนา) และ ดร.ปวียา รักนิ่ม (รองผู้อำนวยการ สวส.มทร.ล้านนา) ร่วมเป็นกรรมการดำเนินงาน ซึ่งระยะเวลาโครงการฯ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2565 เพื่อส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานขับเคลื่อนประเทศในอนาคต ซึ่งบริหารและจัดการทุนโดยหน่วยบริหารและจัดการ ทุนด้านการ พัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) นั้น โครงการมีวัตถุประสงค์ในการสร้างบุคลากรทางด้านปัญญาประดิษฐ์ โดยเน้นการสร้างบุคลากร สาขาอาชีพ อันประกอบไปด้วย นวัตกร, วิศวกร, นักวิจัย, วิทยากร และกลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ Start up โดยมีจัดสอบความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ผ่านระบบออนไลน์ ในวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2564 และวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2564 ต่อไป
ข่าว : ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด กลุ่มงานบริการการศึกษา สวส.มทร.ล้านนา
ภาพ : ชัชวาลย์ ศะศิวนิชย์ กลุ่มงานบริการการศึกษา สวส.มทร.ล้านนา, สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย