โลโก้เว็บไซต์ สวส. เดินหน้า ตอกย้ำ ปีที่ ๔ ISO/IEC ๒๙๑๑๐ ยกระดับการสร้างกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ มทร.ล้านนา ให้ก้าวสู่มาตรฐานสากลฯ อย่างมั่นคงและยั่งยืน | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

สวส. เดินหน้า ตอกย้ำ ปีที่ ๔ ISO/IEC ๒๙๑๑๐ ยกระดับการสร้างกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ มทร.ล้านนา ให้ก้าวสู่มาตรฐานสากลฯ อย่างมั่นคงและยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 2 ธันวาคม 2567 โดย ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด จำนวนผู้เข้าชม 110 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันนี้ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ น. ถึง ๑๖.๓๐ น. งานพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (สวส.มทร.ล้านนา) จัดโครงการ " ยกระดับการสร้างกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับมทร.ล้านนาให้ก้าวสู่มาตรฐานสากล ISO/IEC ๒๙๑๑๐ (Systems and Software Engineering) อย่างมั่นคงและยั่งยืน" เข้าสู่ปีที่ ๔ ณ ห้องฝึกอบรม ๒ ชั้น ๒ อาคารหอสมุด สวส.มทร.ล้านนา เชียงใหม่

มี อาจารย์ณัฐชาสิทธิ์ ชูเกียรติขจร (รองผู้อำนวยการฯ) กล่าวรายงาน ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ลือโขง (ผู้อำนวยการฯ) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมีคุณวิทยากร คุณทัศนพล พรหมขัติแก้ว ที่ปรึกษาทางด้านจัดทำมาตรฐานซอฟต์แวร์ ISO/IEC ๒๙๑๑๐ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ วัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อตรวจติดตามและทบทวนกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีกระบวนการตามมาตรฐาน ISO ฯ ให้เป็นการยืนยันความคงอยู่และให้เกิดความมั่นใจว่าระบบยังเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด สร้างความรู้ความเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศตามมาตรฐานฯ ให้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศตามมาตรฐานฯ ให้ทุกพื้นที่ได้นำไปปรับใช้และถือเป็นการพัฒนาที่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัยฯ

ด้วย สวส. ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้ามาสนับสนุนประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งการบริหารและการจัดการต่าง ๆ ภายใน มทร.ล้านนา เพื่อให้การพัฒนากระบวนการและการควบคุมคุณภาพของกระบวนการให้ตรงตามหลักเกณฑ์ที่นำไปสู่กระบวนการมาตรฐานกลาง เกิดการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในแต่ละขั้นตอนร่วมกัน โดยมาตรฐานซอฟต์แวร์จะผลักดันให้ มทร.ล้านนา มีกระบวนการพัฒนาและการบริหารที่ชัดเจนและครอบคลุมการปฏิบัติงานในทุกๆ ด้าน รวมถึงการสร้างความสำเร็จด้วยการบริหารความเสี่ยงและสร้างกระบวนการบริหารที่เป็นระบบ มีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ของบุคลากรในกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์อย่างชัดเจน ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันและสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นได้ การบริหารจัดการและการพัฒนาระบบสารสนเทศฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ซึ่งประโยชน์ของมาตรฐานสากล ISO ฯ ดังกล่าว ประกอบด้วย ๒ ประการหลักๆ คือ ๑.ในมุมของผู้พัฒนาระบบงาน สามารถดำเนินโครงการได้บรรลุเป้าหมาย มีกระบวนการในการพัฒนาระบบงาน ที่เป็นแนวทางเดียวกันทั้งองค์กร มีรูปแบบของการสรุปความต้องการที่ชัดเจน เพื่อลดข้อขัดแย้ง และประเด็นปัญหา บุคลากรในองค์กรเข้าใจบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง สามารถวิเคราะห์และประเมิน ระยะเวลาในการดำเนินโครงการได้แม่นยำขึ้น และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดได้ สร้างความเชื่อมั่นทั้งกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและบุคลากรในองค์กรเอง และ ๒.ในมุมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้ทีมงานที่มีมาตรฐานในการดำเนินโครงการมาเป็นผู้รับงาน สามารถติดตามความคืบหน้าโครงการและตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของกระบวนการได้อย่างมีหลักการ มีขั้นตอน มีเอกสารอ้างอิงหลังจากเสร็จสิ้นโครงการฯ รวมไปถึงสามารถพัฒนาต่อยอดความรู้ของทีมงาน เกิดความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาระบบไปในทิศทางเดียวกันเข้าใจการทำงานในแต่ละขั้นตอนทำให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้ต่อไป

ชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติม : คลิกที่นี่

ข่าว : ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด กลุ่มงานบริการการศึกษา สวส.มทร.ล้านนา
ภาพ : จักร์รินทร์ ชื่นสมบัติ กลุ่มงานบริการการศึกษา สวส.มทร.ล้านนา







Facebook Messenger icon