โลโก้เว็บไซต์ ก้าวสู่จุดเปลี่ยน IPv6 | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ก้าวสู่จุดเปลี่ยน IPv6

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 8 มิถุนายน 2554 โดย ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด จำนวนผู้เข้าชม 173 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

   จากงานสัมมนาเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554 “ปัจจุบันและอนาคตเครือข่ายเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (NEdNet) และการเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ IPv6” ที่ผ่านมา อาจจะมีหลายๆ ท่านที่ไม่ได้เข้าร่วมงาน เนื่องด้วย IP ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันที่เป็น IPv4 ได้ใกล้หมดแล้ว และหากเราต้องการขยายเครือข่ายอินเตอร์เน็ตคงจะไม่มี IPv4 ให้เพิ่มอีกแล้ว ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลหลักที่เราจำเป็นเปลี่ยนไปใช้ IP รุ่นที่ 6 (IPv6) และทุกส่วนของอินเตอร์เน็ตทั่วโลกจะต้องเปลี่ยนไปใช้ IPv6 โดยการเปลี่ยนแปลงจะเป็นลักษณะค่อยๆเปลี่ยนคือ จะใช้หมายเลข IPv4 และ IPv6 ควบคู่กันไประยะหนึ่ง และต่อไปจะคงจะเหลือเพียง IPv6 อย่างเดียว 
                  จากเหตุในขั้นต้นนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปรับเปลี่ยนไปใช้งาน IPv6 จึงมีองค์กรที่เกี่ยวกับการจัดสรร IP อินเทอร์เน็ต ได้กำหนดให้วันที่ 8 มิถุนายน 2554 (0:00 GMT- 24:00 GMT, ตรงกับเวลาประเทศไทย 7.00 8 มิ.ย. 54 - 7.00 9 มิ.ย. 54 )เป็นวันทดสอบการใช้งาน IPv6 หรือ เรียกว่า World IPv6 day  http://www.worldipv6day.org/ 
ผู้ให้บริการระดับโลกหลายๆ ผู้ให้บริการเข้าร่วมทดสอบ IPv6 ด้วย เช่น google, facebook, youtube เป็นต้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 8 มิ.ย. คือ Web ของผู้ให้บริการเหล่านั้นจะมีทั้ง IPv4 และ IPv6 จากเดิมที่มีเฉพาะ IPv4 อย่างเดียว  หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.worldipv6day.org/participants/
 การทำงานของระบบเมื่อผู้ใช้เรียก Web ที่เป็น IPv6
ในทางเทคนิคแล้ว เมื่อผู้ใช้เรียกใช้งาน Web (คอมพิวเตอร์ปลายทาง) ที่มีทั้ง IPv4 และ IPv6  คอมพิวเตอร์ต้นทางของผู้ใช้จะตรวจสอบว่ามี IPv6 บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางหรือไม่
กรณีที่ 1.  มีเฉพาะ IPv4 ไม่มี IPv6 กรณีนี้คอมพิวเตอร์ต้นทางจะติดต่อกับคอมพิวเตอร์ปลายทาง ด้วย IPv4
กรณีที่ 2. มีทั้ง IPv4 และ IPv6 แบบ native  กรณีนี้คอมพิวเตอร์ต้นทางจะติดต่อกับคอมพิวเตอร์ปลายทางด้วย IPv6 ก่อน หากติดต่อด้วย IPv6 ไม่ได้ (ค่า timeout ประมาณ 30-60 วินาที) จะเปลี่ยนเป็น IPv4
กรณีที่ 3. มี IPv4  แต่มี IPv6 แบบ 6to4  กรณีนี้(จากการทดลองส่วนตัว) คอมพิวเตอร์ต้นทางจะติดต่อกับคอมพิวเตอร์ปลายทางด้วย IPv4
 ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ณ วันนั้นคือ ผู้ใช้เรียกเว็บที่เป็น IPv6 แล้ว(เช่น google, youtube) แล้วข้อมูลจากเว็บนั้นๆจะเข้ามาช้า หรือไม่มาเลย
 การเตรียมความพร้อมและการทดสอบ
ทุกท่านสามารถทดสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานอยู่มี IPv6 หรือไม่
1. เรียกไปยังเว็บ http://www.kame.net  หากเห็นภาพเต่ากระดิกได้แสดงว่าใช้งาน IPv6 อยู่
2. เรียกไปยังเว็บ http://ipv6-test.com/  เว็บนี้จะบอกว่าการเชื่อมต่อแบบ IPv6 หรือ IPv4  และรายงานว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกไปมี IPv6 หรือไม่ (เป็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ต้นทางมีทั้ง IPv4 และ IPv6 แต่เลือกการเชื่อมต่อเป็นแบบ IPv4)
3. เรียกไปยัง ipv6.google.com 
         3.1 ถ้าเรียกไม่ได้แสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไม่รองรับ IPv6  (เป็น IPv4 เท่านั้น)
         3.2 ถ้าเรียกได้ (ไม่ว่าจะเร็วติดมือหรือช้า) แสดงว่าคอมพิวเตอร์ต้นทางเป็น IPv6 
                3.2.1 ให้ดูการทดสอบข้อ 2 ถ้าข้อมูลระบุว่าเป็น IPv6 แบบ native ก็พอจะสบายใจว่าวันที่ 8 มิ.ย. อาจจะไม่มีปัญหา
                3.2.2 ถ้าการทดสอบข้อ 2 ระบุว่าเป็น IPv6 แบบ 6to4 ก็ให้ทำใจว่าวันที่ 8 มิ.ย. อาจจะมีปัญหา เนื่องจากอุปกรณ์ 6to4 gateway เกิด overload ในวันนั้น

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 

สมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทย  

สถาบันวิทยาการ สวทช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ